วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


คอมพิวเตอร์ : สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย
                  เมื่อวงการศึกษาของเด็กปฐมวัย กำลังตื่นตัวในการจัดการศึกษา เพื่อรองรับโลกยุคข่าวสารไร้พรมแดน การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย จึงเป็นประเด็นที่พูดกันว่า มีความเหมาะสมอย่างไร เด็กมีความพร้อมทางด้านร่างกาย และสติปัญญาเพียงพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์หรือยัง ดังนั้นเพื่อเป็น ข้อมูลสำหรับพิจารณาว่า สื่อคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นสื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัยจริงหรือ เรามาศึกษาและเรียนรู้แนวความคิดที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กๆ ปฐมวัยกันค่ะ
การใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัย
             เด็กจะเรียนรู้กิจกรรมจากคอมพิวเตอร์ในเรื่องเกี่ยวกับสัญลักษณ์ เพราะในชีวิตประจำวันเด็กก็ใช้สัญลักษณ์จากการสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษาในการเล่น และงานศิลปะอยู่แล้ว จึงเห็นว่า เด็กก่อนวัยเรียนควรได้รับประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย แต่ยังมีผู้วิตกว่า แนวคิดนี้เป็นการเร่งรัดเด็กหรือไม่ คำตอบประการหนึ่งคือ การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นอันตรายเลย แต่เราก็ควรใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับเด็กตามระดับความสามารถของเขาเป็นสำคัญ
การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์
               ถ้าเด็กเล่นคอมพิวเตอร์ด้วยความรู้สึกสบายใจ มีความเชื่อมั่น และสนุกกับการเล่นแล้ว เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการมี ผู้ใหญ่คอยดูแล สนับสนุน ให้กำลังใจ และรู้จักเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมให้เด็ก
               นอกจากนี้ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ควรให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมได้อย่างเสรี โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นมุมหนึ่งของห้องเรียนเช่นเดียวกับมุมไม้บล็อก มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมบทบาทสมมติ ฯลฯ จะเอื้อประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ได้ดีกว่าการจัดให้เด็กแยกไปเรียนต่างหาก การจัดมุมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาการทางสังคม เพราะเด็กอาจจะนั่งหน้าจอด้วยกัน พูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ลองผิดลองถูก อีกทั้งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและภาษาได้อย่างดี

ครั้งที่ 1 ( วันที่ 8 สิงหาคม 2560 )

ความรู้ที่ได้รับ : 


                   วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับรายละเอียดของการสอนต่างๆ เช่น การให้คะแนน การตัดเกรด พูดในเรื่องของเทอมนี้จะสอนเกี่ยวกับอะไรบ้าง มีพาไปลงสถานที่จริงเมื่อไร ต้องเตรียมบทความไว้มานำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย ทำให้นักศึกษามีความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเรียนจริง

ประเมินตนเอง : ทำให้มีความพร้อมในการเตรียมตัวก่อนเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ตั้งใจฟังและมีความเตรียมพร้อมก่อนเริ่มเรียนจริง

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษา สร้างบรรยากาศน่าเรียน







ครั้งที่ 2 ( วันที่ 22 สิงหาคม 2560 )

ความรู้ที่ได้รับ :

                  วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จะพูดถึงเรื่องของการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จะมีลักษณะการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรงหรือทางอ้อม การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม ความสำคัญของสื่อ ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย ประเภทของสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก

ประเมินตนเอง : ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ มีสมาธิและตั้งใจกับสิ่งที่อาจารย์กำลังสอนอยู่

ประเมินอาจารย์ : สอนแล้วเข้าใจได้ง่าย พร้อมทั้งมีภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย




ครั้งที่ 3 ( วันที่ 29 สิงหาคม 2560 )


ความรู้ที่ได้รับ : 


                วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยว่า สื่อหมายถึงอะไร ลักษณะของสื่อที่ดีต้องเป็นอย่างไร ความสำคัญของสื่อมีอะไรบ้าง การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ดีควรเป็นอย่างไร หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอนควรทำอย่างไร การนำเสนอสื่อ การประเมินการใช้สื่อ การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อควรทำอย่างไร การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัยของเด็ก คุณสมบัติของของเล่นที่ดี การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย เป็นต้น

ประเมินตนเอง : ทำให้รู้จักการเลือกของเล่นที่ปลอดภัยหรือเหมาะสมกับเด็กมากขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ เข้าใจในการเลือกของเล่นที่ปลอดภัยหรือเหมาะสมกับเด็กได้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : สอนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย มีภาพสอดคล้องเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น


วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560


       ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับบทที่ 4 สื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย มีตัวอย่างสื่อของรุ่นพี่ปีก่อนให้ดู เกมสามารถอธิบายได้ว่าสำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ

จุดมุ่งหมายของการเล่นเกมฃ

- ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
- พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
- ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
- เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
- สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
- ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม

แนวคิดการจัดเกม

1.เกณฑ์การเลือกเกม
   1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
   1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
   1.3เกมที่ดีจะต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
   1.4เกมที่ให้แด็กเล่นจะเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
   1.5ช่วยเด็กให้เกิดมีทักษะด้านต่าง ๆ เช่นทักษะ การเคลื่อนไหว ทักษะการสังเกตทักษะการเรียบเทียบ
   1.6เกมที่เล่นนั้นควรจะเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
   1.7เกมที่ดีต้องเป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
   4.1 เกมวงกลม
   4.2 เกมกลุ่มเด็กเล็ก
   4.3 การเล่นเป็นทีม




ประเมินตนเอง : พอเป็นเรื่องวิชาการก็จะง่วงนอนหน่อย แต่ฟังได้ประเมินเพื่อนๆ : อาจมีง่วงนอนกันบ้าง ไม่ตั้งใจฟังบ้าง แต่ก็ตั้งใจฟังกันประเมินอาจารย์ : สอนดีค่ะ เนื้อหาเข้าใจง่าย



วันที่ 19 กันยายน 2560


            ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นดอกไม้ขยับทางซ้ายทางขวาได้ ชิ้นที่ 2 ของกลุ่มดิฉันเป็นจรวด สามารถขยับเหมือนกำลังบินได้





ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำสื่อของกลุ่มตนเอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆช่วยกันทำสื่อด้วยความตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บริหารงานร่วมกัน 


วันที่  2  ตุลาคม  2560


             
             วันนี้อาจารย์จะพาไปศึกษาภัณฑ์  โดยนัดนักศึกษาเจอกันที่ใต้ตึกวิทกีฬา  พอทุกคนมากันครบก็ออกเดินทาง  โดยออกไปรอรถเมล์ไปลงใต้ดิน ค่ารถเมล์ 6.50 บาท มาลงใต้ดินสถานีรัชดาภิเษก แล้วไปขึ้นสถานีเพชรบุรี  25  บาท  จากนั้นก็ขึ้นประตูสาม ไปท่าเรือคลองแสนแสบอโศก  ฝนดันตกพอดีจึงหยุดพักกันรอฝนซาลง

ฝนตกหนักมากกก

พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
                 พอฝนหยุดตกทุกคนเลยขึ้นเรือเดินทางต่อ  พอถึงท่าเรือประตูน้ำก็เปลี่ยนเรือไปอีกลำจากนั้นก็นั่งยาวๆกันไปถึงท่าเรือสะพานผ่านฟ้า  สุดสายแล้วจากนั้นก็เดินต่อกัน  สถานที่ที่เดินผ่านระหว่างไปศึกษาภัณฑ์ ก็จะมีป้อมมหากาฬ จากนั้นข้ามทางม้าลายกัน เดินไปอีกนิดก็จะถึงพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
                เดินมาอีกหน่อยก็จะถึงอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ใกล้ๆกันก็จะเป็น ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน กระทรวงวัฒนธรรม จากนั้นก็พากันข้ามทางม้าลาย เดินไปเรื่อยๆ ผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา  และก็ถึงศึกษาภัณฑ์ 



   ภายในศึกษาภัณฑ์มีสื่อต่างๆ เช่น  สื่อสิ่งพิมพ์ จะเป็นหนังสือต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทาน  หนังสือสอนก - ฮ  เป็นต้น  สิ่งประเภทวัสดุ  จะเป็นเกี่ยวกับสิ่งของที่ใช้ในการสอนสมมุติ เช่น  หุ่นจำลอง  ผลไม้  เป็นต้น

ผลไม้ที่ไว้ใช้สำหรับสื่อการสอน



             มีสื่อด้านการกีฬา  เช่น  ลูกบาส  ลูกบอล ปิงปอง  เป็นต้น  สื่อสำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่เห็น ก็จะมีผลไม้ปลอมที่ทำจากพลาสติก  ไว้ใช้ในการจัดกิจกรรมสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ได้


หุ่นจำลอง





สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พบเห็น



สื่อการสอนเกี่ยวกับสัตว์
       
               
        สื่อต่อไปก็จะเป็นสื่อเกี่ยวกับหมวดสัตว์ เป็นภาพจิ๊กซอว์ให้เด็กๆได้ต่อเป็นรูปภาพต่างๆ  มีสีสันที่สวยงามและหลากหลาย คุณครูสามารถใช้สอนเด็กๆได้  หรือ ให้เด็กๆ ลองเล่นด้วยตัวเองได้ เป็นการฝึกให้เด็กแก้ปัญหาเองได้









สื่อการสอนเกี่ยวกับกีฬา

                สื่อต่อไปจะเป็นหมวดของกีฬาต่างๆ  เป็นตัวการ์ตูนให้เด็กวางใส่ตามช่องต่างๆ พร้อมทั้งมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้เด็ก  เพื่อให้เด็กได้รู้และเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  มีสีสันที่สวยงาม เล่นได้ง่าย เด็กๆเข้าใจได้ง่าย  สามารถใช้สำหรับการจัดกิจกรรมการสอนสำหรับหมวดอาชีพได้ พร้อมทั้งภาษาอังกฤษอีกด้วย  สามารถใช้สอนเด็ก หรือ ให้เด็กได้ลองเล่นด้วยตัวเองได้อีกด้วย


         


สื่อการสอนเกี่ยวกับดอกไม้
     สื่อต่อไปเป็นสื่อการสอนเกี่ยวกับดอกไม้ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น มีเกสรดอกไม้ ไข่  รังไข่  เป็นต้น บอกหน้าที่ของดอก เช่น ช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสรได้  ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ เป็นต้น  สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนหมวดของดอกไม้ได้  เพราะ  สามารถบอกถึงองค์ประกอบของดอกไม้ได้  ว่าแต่ละส่วนทำหน้าที่อะไรได้บ้าง






สื่อการสอนไว้สำหรับจัดกิจกรรมเกี่ยวกับผักและผลไม้






               สื่อการสอนชิ้นนี้เป็นสื่อการสอนเกี่ยวกับหมวดผักและผัก  เด็กสามารถมองและจับรูปร่างลักษณะได้ มองรูปร่าง  สี  ของผักและผลไม้  สามารถใช้แทนสื่อของจริงในการสอนได้  เพราะ  เราไม่สามารถนำจริงมาได้หมดทุกชิ้น  สื่อการสอนชิ้นนี้จึงสามารถใช้แทนสื่อของจริงได้  สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนเกี่ยวกับหมวดผักและผลไม้ได้  คุณครูสามารถใช้สอน หรือ ให้เด็กได้เล่นด้วยตนเองได้



สื่อการสอนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
          สื่อการสอนชิ้นนี้เป็นสื่อการสอนเกี่ยวกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ  A - Z เป็นตัวต่อจิ๊กซอว์  มีสีสันสวยงามและพื้นผิวที่นิ่ม  สามารถต่อกันกลายเป็นแผ่นใหญ่ได้  สามารถนำมาจัดกิจกรรมการสอนหมวดภาษาอังกฤษได้  คุณครูสามารถนำมาใช้ในการสอนได้  หรือ  เด็กๆสามารถนำมาเล่นกันเองกับเพื่อนๆได้




สื่อการสอนต่างๆ


        สื่อการสอนชนิดนี้สอนเกี่ยวกับตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลข แม่สูตรคูณ  พยัญชนะ  เป็นต้น  มีสีสันสวยงาม  และ  เข้าใจง่าย  เด็กๆสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย  คุณครูสามารถนำมาจัดกิจกรรมหมวดภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์  ภาษาไทย เป็นต้น








รูปทรงต่างๆ

       สื่อการสอนชนิดนี้เป็นกล่องมีรูเป็นรูปทรงต่างๆ ภายในกล่องมีชิ้นรูปทรงสามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม  เป็นต้น  สามารถใส่ตามรูรูปทรงต่างๆได้  สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนหมวดรูปทรงต่างๆ กับเด็กๆได้  หรือ  เด็กๆ  สามารถเล่นกับเพื่อนกันเองได้






             สื่อชนิดนี้เป็นลูกบาศ์กสี่เหลี่ยมให้ต่อกลายเป็นรูปภาพต่างๆ แต่ละด้านของสี่เหลี่ยมจะเป็นรูปส่วนต่างๆ  สามารถต่อได้หลายรูป สามารถนำมาจัดกิจกรรมการสอนเกี่ยวกับการเล่นเกมส์เป็นกลุ่ม  เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คุณครูสามารถเป็นผู้สอนให้เด็กก่อนเริ่มเล่นได้  แล้วค่อยให้เด็กลองเล่นด้วยตนเอง  หรือ  ให้เด็กได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง





        สื่อชนิดนี้เป็นสื่อเกี่ยวกับการแต่งกายของแต่ละประเทศอาเซียน  ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศ  ทั้งหมด 10 ชุดด้วยกัน คุณครูสามารถนำมาจัดกิจกรรมการสอนเกี่ยวกับหมวดอาเซียนได้  เพราะ  เป็นชุดการแต่งกายของแต่ละประเทศต่างๆ ของอาเซียน  ทำให้เด็กสามารถเห็นและจับสัมผัสได้  เห็นรูปร่าง  สี  ลักษณะของผ้าได้





         สื่อชนิดนี้เป็นสื่อเกี่ยวกับหมวดเลขาคณิต  เป็นรูปทรงต่างๆ ในเลขาคณิต  สามารถจัดใส่ตามช่องเรียงตามความยาวได้  หรือนำเอาออกมาเล่นสร้างเป็นรูปทรงต่างๆได้ เช่น  บ้าน  เป็นต้น  คุณครูสามารถนำมาจัดกิจกรรมในการสอนหมวดรูปทรงเลขาคณิตได้  เพราะ  เด็กสามารถมองเห็น  และบอกลักษณะของรูปทรงต่างๆได้  เด็กได้จับหรือสัมผัสว่า มีแหลม กลม เป็นเหลี่ยม




สิ่งที่ได้จากการไปศึกษาภัณฑ์ครั้งนี้ 

         การเดินทางใหม่ที่ไม่เคยลองไป  ได้นั่งเรือที่ไม่กล้านั่ง ไปเรียนรู้และเห็นสื่อใหม่ว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง  เราสามารถจำมาลองประยุกต์ใช้ได้จริง  เพื่อเป็นความแปลกใหม่ให้แก่สื่อการสอนของเรา  สื่อไม่ทำเป็นต้องเป็นหนังสือเสมอไป  สามารถเป็นได้แม้กระทั่งสิ่งรอบๆตัว  เช่น  ผักและผลไม้  เครื่องครัว  ของใช้ในปัจจุบัน  อุปกรณ์การเล่นกีฬา  เป็นต้น  บางครั้งเวลาเราสอนเรื่องของอาเซียน  เราไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดแค่พาวเวอร์พอยหรือวีดิโอให้เด็กได้ดู  แต่เราสามารถประยุกต์สื่อขึ้นมาเพื่อให้เด็กเห็นภาพได้  เช่น  ประเทศอาเซียนมีกี่ประเทศ  ประเทศอะไรบ้าง การแต่งกายของแต่ละประเทศอาเซียน  ดอกไม้ประจำของแต่ละประเทศอาเซียน เป็นต้น








วันที่ 10 ตุลาคม 2560


              ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อการสอนสำหรับเด็ก เป็นงานเดี่ยว 2 ชิ้น



ชิ้นที่ 1 หนอนจากกระดาษทิชชู


ชิ้นที่ 2 เป็นภาพหลอกตาระหว่างมีสีกับไม่มีสี

ประเมินตนเอง : สามารถนำสิ่งของรอบต้ว เช่น ทิชชู มาใช้เป็นสื่อการสอนได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อกัน สนุกสนาน และ เป็นกันเองกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : เป็นกันกับนักศึกษา สอนเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก



วันที่ 17 ตุลาคม 2560 


           ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้ประดิษฐ์สื่อการสอนสำหรับเด็ก เป็นเครื่องเคาะจังหวะดอกไม้ ทำมาจากกระดาษสี ภายในเป็นข้าวสารเขย่าแล้วจะเกิดเสียง




        พอทำเสร็จ อาจารย์ก็สั่งงานให้ไปทำกัน โดยจับฉลากกันมีสื่อจากสิ่งของเหลือใช้ สื่อจากคลิปวีดิโอที่อาจารย์เปิดให้ดู

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจเวลาทำสื่อ ให้ความสนใจกับสื่อ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อกันทุกคน สนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : เป็นกันเองกับศึกษา สอนเข้าใจง่าย




วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ 


         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเอางานมาทำที่ห้องเรียน งานไหนที่เราทำไม่เป็นก็สามารถถามอาจารย์ให้อาจารย์ช่วยสอนให้คำแนะนำในวันนี้ได้ 




และวันนี้อาจารย์ก็สั่งงานกลุ่มอีกงาน เป็นงานสุดท้าย โดยให้จับฉลากว่าจะได้หัวข้ออะไร ของกลุ่มดิฉันได้หัวข้อ สภาพภูมิอากาศ



ประเมินตนเอง : วันนี้สนุกมากๆ ตั้งใจทำสื่อของตนเอง สื่ออันไหนทำไม่เป็นก็สามารถถามได้เลย
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อของตนเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นกันกับนักศึกษา สามารถสอบถามหรือสอนสื่อที่ไม่เข้าใจให้แก่นักศึกษาได้


วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ให้เอาสื่อทั้งหมดมาส่งอาจารย์กัน นี่คือสื่อทั้งหมดของดิฉัน


หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันจัดนิทรรศการรวมสื่อของนักศึกษาทุกคนเข้าด้วยกันทั้งห้อง ทุกๆคน ต่างช่วยกันจัดสื่อ 



ประเมินตนเอง : สนุกไปกับกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งคาบ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการจัดนิทรรศการ
ประเมินอาจารย์ : เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลองจัดนิทรรศการด้วยตนเอง